ผู้วิจัย: นายรชตะ ขาวดี
สถานที่ทำงาน: โรงเรียนบ้านแพงพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย
การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันให้ความสำคัญของวิชาประวัติศาสตร์ โดยแยกเป็นรายวิชาหนึ่งต่างหาก วัตถุประสงค์มีหลายประการ โดยให้นักเรียนรู้ เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวความเป็นมาของมนุษยชาติ รักผูกพัน ภาคภูมิใจ จงรักภักดีต่อชาติ รวมถึงรับผิดชอบต่อประเทศ ทำให้ตระหนักว่าหน้าที่ความเป็นพลเมืองดี และจากสภาพการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมา รายวิชาประวัติศาสตร์ไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ประสบปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เนื่องจากเนื้อหาค่อนข้างมาก ทำให้ผู้เรียนด้อยความกระตือรือร้น มีส่วนร่วม ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ไม่ได้ตามเกณฑ์ของโรงเรียนในปีการศึกษา 2561 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ 65 ต่ำกว่าเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาที่โรงเรียนกำหนด ผู้วิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้และรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น คือ RAChATA Model ในการพัฒนาทักษะการอ่าน คิด วิเคราะห์และสามารถนำความรู้มาสร้างสรรค์ผลงาน แก้ปัญหาการเรียนประวัติศาสตร์ได้ดี เพราะเร้าความสนใจ เรียนรู้ด้วยตนเอง สร้างองค์ความรู้ ช่วยถ่ายทอดเนื้อหาที่ยาก แก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคล พัฒนาการคิดอย่างมีเหตุผล และเป็นสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง
แผนภาพ 1 รูปแบบการเรียนรู้แบบ RAChATA Model
วัตถุประสงค์การวิจัย
- เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ RAChATA Model เรื่อง ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
- เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ RAChATA Model เรื่อง ถิ่นกำเนิด ของชนชาติไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
- เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
- เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบRAChATA Model เรื่อง ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย
วิธีดำเนินการวิจัย
แบบแผนการวิจัย
ใช้รูปแบบการทดลองแบบ One – Group Pretest-Posttest Design (พวงรัตน์ ทวีรัตน์,2543 :60) ดังนี้
T1 X T2
X แทน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ RAChATA Model หน่วยการเรียนรู้ เรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย
T1 แทน คะแนนทดสอบก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ RAChATA Model หน่วยการเรียนรู้ เรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย
T2 แทน คะแนนทดสอบหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ RAChATA Model หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย
แผนภาพ 2 กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านแพงพิทยาคม จำนวน 5 ห้อง รวม 132 คน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนบ้านแพงพิทยาคม จำนวน 1 ห้อง รวม 29 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ RAChATA Model หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย วิชาประวัติศาสตร์ไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแพงพิทยาคม จำนวน 6 ชุด
2. แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน
3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ
4. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ RAChATA Model
การเก็บรวบรวมข้อมูล
1) เก็บข้อมูลก่อนเรียน 2) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ เก็บข้อมูลระหว่างเรียนทดสอบหลังเรียน 3) วิเคราะห์ข้อมูลหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) สอบถามความพึงพอใจของนักเรียน
การวิเคราะห์ข้อมูล
1) ค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ใช้สูตร E1/E2 ของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ RAChATA Model
2) ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นสูตร K-R 20 ผลต่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนใช้สถิติ t-test แบบ Dependent Samples ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3) ค่าดัชนีประสิทธิผล หรือ E.I. แสดงความก้าวหน้าของนักเรียน
4) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแบบสอบถามความพึงพอใจ
สรุปผลการวิจัย
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ RAChATA Model เรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแพงพิทยาคม ตามเกณฑ์ 80/80 จำนวน 6 ชุด มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 85.94/86.47 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ผลดังตาราง 1
ตาราง 1 ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ RAChATA Model
คะแนนระหว่างเรียน | คะแนนหลังเรียน | ประสิทธิภาพ | ||||
คะแนนเต็ม | ค่าเฉลี่ย | E1 | คะแนนเต็ม | ค่าเฉลี่ย | E2 | E1/ E2 |
180 | 154.69 | 85.94 | 40 | 34.59 | 86.47 | 85.94/86.47 |
2. วิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบRAChATA Model เรื่องถิ่นกำเนิด ของชนชาติไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแพงพิทยาคม ค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7757 นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน ร้อยละ 77.57 ผลดังตาราง 2
ตาราง 2 ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบRAChATA
การทดสอบ | คะแนนเต็ม | n | ผลรวมของคะแนน | E.I. |
ก่อนเรียน | 40 | 29 | 460 | 0.7757 |
หลังเรียน | 40 | 29 | 1003 |
3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ RAChATA Model เรื่อง ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย โดยใช้สถิติ t-test Dependent Samples คะแนนก่อนเรียนเฉลี่ย เท่ากับ 15.86 หลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 34.59 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลดังตาราง 3
ตาราง 3 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้แบบRAChATA Model เรื่อง ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย
การทดสอบ | n | x̄ | S.D. | ค่าเฉลี่ยผลต่าง | ΣD | ΣD2 | (ΣD)2 | t |
ก่อนเรียน | 29 | 15.86 | 1.92 | 18.73 | 543 | 10379 | 294849 | 36.66* |
หลังเรียน | 29 | 34.59 | 1.57 |
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (df28 = 36.66)
4. วิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ RAChATA Model เรื่อง ถิ่นกำเนิดของชน ชาติไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแพงพิทยาคม นักเรียนพึงพอใจระดับมาก ( x̄ = 4.58, S.D. = 0.12)
คุณชอบนวัตกรรมนี้แค่ไหน
กดดาวเพื่อให้คะแนน
ค่าเฉลี่ย 4.3 / 5. จำนวนคะแนน 33
ให้คะแนนเพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้สร้างนวัตกรรม